ก้าวทันโลกศึกษา 2 หน่วยที่ 3

กฎหมายในชีวิตประจำวัน




กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคล

บุคคลแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1. บุคคลธรรมดา หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถ มีสิทธิประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย
2. นิติบุคคล หมายถึงบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น มีสิทธิประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ได้แก่ วัด มูลนิธิ สมาคม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทบวงการเมือง (กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล จังหวัด)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคลสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
1. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร์ ได้แก่
      1.1 การแจ้งคนเกิด ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วันตั้งแต่เกิด
      1.2 การแจ้งคนตาย ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 24 ชั่วโมง
      1.3 การแจ้งย้ายที่อยู่ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายออก

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน ได้แก่
     2.1คคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
     2.2ตรประจำตัวประชาชนให้ใช้ได้ 6 ปี นับแต่  นออกบัตร และเมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หรือก่อนวันหมดอายุบัตร 60 วัน

3. กฎหมายที่เกี่ยวกับการับราชการทหาร ได้แก่
   3.1ชาย มีสัญชาติไทยมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน
   3.2ชายมีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีใน พ.ศ. ใดให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในปี พ.ศ. นั้น ณ ภูมิลำเนาของตน
  3.3 ทหารกอง เกิน เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีในปี พ.ศ. ใดต้องแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนภายในปี พ.ศ. นั้น เมื่อรับหมายเรียกแล้วทหารกองเกินต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามกำหนดนัด โดยนำใบสำคัญทหารกองเกิน บัตรประจำตัวประชาชน และประกาศนียบัตรหรือหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย

4. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญา
   4.1 นิติกรรม หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคลที่จะกระทำชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับใช้ซึ่งสิทธิ นิติกรรมที่สมบูรณ์นั้นผู้ทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมโดยชอบธรรมของบุคคลคนเดียว
  4.2 สัญ ญา หมายถึงการแสดงเจตนาของบุคคล 2 คนที่ต้องตรงกัน เช่น สัญญาจ่งแรงงงาน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น สัญญาจะเป็นนิติกรรมเสมอ แต่นิติกรรมอาจไม่ใช่สัญญา เช่น การทำพินัยกรรม การโฆษณา การให้คำมั่นว่าจะทำให้ได้ ฯลฯ   
กฎหมายประเภทนี้เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อควบคุมป้องกันมิให้ประชาชนทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบกัน หรือทำความตกลงกันในเรื่องที่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

5. กฎหมายกี่ยวกับการศึกษา

ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนในชั้น ประถมคือ พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ ที่ ๖

ในมาตรา ๖ ผู้ปกครองจะต้องส่งเด็กในความปกครองของตนเข้าเรียนในภาคบังคับ (ป.๑ - ป.๖) เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่แปด และต้องอยู่ใน โรงเรียนจนกว่าจะมีอายุย่างเข้าป ีที่สิบห้า (๑๕ ปีบริบูรณ์) แต่ถ้าเด็กในปกครองสอบไล่ได้ชั้นประถมปีที่ ๖ ก็ไม่ต้องรอให้อายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ก็ได้ ถือว่าจบและออกจากโรงเรียนได้ ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามดังกล่าวนี้ จะต้องถูกปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (มาตรา ๑๐)
การนับอายุให้นับตามปีปฏิทิน (เช่น ด.ช. ก เกิด ๑ มกราคม ๒๕๒๕ จะมีอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๒๖) กล่าวคือนับวันเกิดชนวันเกิด

"ผู้ปกครอง" ตามกฎหมายหมายถึง
       (๑) บิดามารดาที่อยู่ด้วยกันทั้งที่จดทะเบียนสมรส และไม่จด ทะเบียนสมรส (กฎหมายลักษณะผัวเมีย) กล่าวคือ เป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง
      (๒) บิดาหรือมารดา
- การที่บิดามารดาหย่ากัน และบุตรอยู่ในความอุปการะของ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- คู่สมรสแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกัน และบุตรอยู่ใน ความอุปการะของบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
      (๓) บุคคลที่ดูแลเด็กที่อยู่รับใช้การงานในบ้านเรือนของตนเอง ถือ ว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้ด้วย สำหรับนักเรียนที่เข้าโรงเรียนแล้ว ต้องไม่ขาดเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยภายใน ๑ เดือนขาดเรียนได้ไม่เกิน ๗ วัน คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด มีอำนาจกำหนดให้ผู้ปกครองของเด็กในท้องที่ใดในเขตจังหวัด ส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เมื่อเด็กมีอายุต่ำหรือสูงกว่าที่กำหนดไว้ได้

เด็กที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าเรียนโดยผู้ปกครองร้องขอ ได้แก่


(๑) มีความบกพร่องในทางร่างกายและจิตใจ


(๒) เป็นโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง


(๓) ต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพพลภาพไม่มีหนทางเลี้ยงชีพ และ ไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทนถ้าผู้ปกครองที่ทุพพลภาพมีเด็กต้องส่งเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาพร้อมกันหลายคนให้ยกเว้นเพียง ๑ คน

(๔) มีความจำเป็นอย่างอื่น